แผนงานพัฒนา





แผนงานพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การปกครองท้องถิ่น (Local Government) เป็นรูปแบบหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองในระดับพื้นฐานของประเทศ การปกครองท้องถิ่นเกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาและข้อจำกัดในการบริหารงานของรัฐบาลส่วนกลาง ที่ไม่สามารถดูแลประชาชนทั้งประเทศได้ทั่วถึง
• การปกครองท้องถิ่นยังมีความสำคัญในฐานะเป็นกลไก ในการกระจายทรัพยากรการพัฒนาของรัฐไปสู่ชนบทได้อย่างมีปะสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีการกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่และมีอำนาจในการบริหารจัดการตนเอง
• รูปแบบการปกครองท้องถิ่นเป็นลักษณะการกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางมาสู่ท้องถิ่น เป็นรูปแบบการปกครองที่มีความทันสมัยที่ประเทศพัฒนาแล้วใช้เป็นรูปแบบหลักในการบริหารและการพัฒนาประเทศ
ความสำคัญของการปกครองท้องถิ่น
การปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลกลาง
เป็นการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
เป็นโรงเรียนฝึกหัดประชาธิปไตย
การปกครองตนเองในรูปแบบของการกระจายอำนาจ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังเป็นองค์กรที่ช่วยฝึกการบริหารราชการแผ่นดิน
หลักการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การบริหารงานโดยมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
การบริหารงานโดยผู้บริหารที่มาจากประชาชนในท้องถิ่น
การบริหารงานตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
การบริหารงานโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม
การบริหารงานโดยใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยทั่วไป อาจจำแนกผู้บริหารท้องถิ่นเป็น 3 ระดับ
ผู้บริหารท้องถิ่นระดับสูง
ผู้บริหารท้องถิ่นระดับกลาง
ผู้บริหารท้องถิ่นระดับต้น
การบริหารท้องถิ่นประเทศไทย
• การบริหารท้องถิ่นของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพ.ศ.2535 ที่มีการปฎิรูปการบริหารราชการแผ่นดินครั้งแรก โดยเปลี่ยนการบริหารราชการแบบจตุสดมภ์ที่เริ่มใช้ตั้งแต่การสถาปนากรุงศรีอยุธยา มาเป็นการบริหารราชการแบบสมัยใหม่ที่มีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ การบริหารราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น โดยการปกครองสวนท้องถิ่นเกิดขึ้นครั้งแรกที่สุขาภิบาลพระนคร และสุขาภิบาลท่าฉลอม จากนั้นการบริหารส่วนท้องถิ่นของประเทสไทยได้มีการปรับเปลี่ยนหลายครั้งตามสถานการณ์การเมืองการปกครองของไทย
- การบริหารท้องถิ่นของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพ.ศ.2535
โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล

โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย
นายก อบต. และสมาชิกสภา อบต. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งนั้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
• องค์ประกอบของ อบต. ในการปฏิบัติงาน ดังนี้
(1) สภา อบต. : ฝ่ายนิติบัญญัติ
(2) นายก อบต . : ฝ่ายบริหาร
(3) พนักงานส่วนตำบล : ฝ่ายราชการประจำ
(4) ประชาชนในเขต อบต. : เป็นศูนย์กลางการพัฒนา และมีส่วนรวมดำเนินการ
(5) ฝ่ายกำกับดูแล อบต. : นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด
ทั้ง 5 ฝ่ายต้อง มีส่วนรวมในการดำเนินงานตามกรอบอำนาจหน้าที่อย่างสมดุล อบต. จึงพัฒนาอย่างยั่งยืนและเข้มแข็ง