เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ

ผู้บริหาร อบต.

นายวินัย แป้นซื่อ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งท่าช้าง
นางสาวสุธีมนต์ คนมั่น
ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมรักษาราชการแทนปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งท่าช่าง

เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ

“สยาม เมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ’’ เป็นสมญานามของประเทศไทยมาหลายยุคหลายสมัย ความอุดมสมบูรณ์ด้านอาหารทำให้ใครหลายๆคนคิดไกลไปถึงครัวโลก จนลืมคิดว่านั่นมันเมื่อก่อน…เรายังมีเกษตรกรทำนา ทำสวน ผลผลิตแต่ละปีเหลือกินเหลือใช้… หลายปีที่ผ่านมาพื้นที่เกษตรลดลง ชาวนา ชาวสวนมุ่งหน้าเข้าโรงงานเนื่องจากผลผลิตไม่คุ้มกับค่าปุ๋ย ค่ายาปราบศัตรูพืช ขาดน้ำในการทำนา เริ่มมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ ความหลากหลายทางชีวภาพเริ่มหายไป ราคาอาหารเริ่มสูงขึ้น…

พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551 เรื่องความมั่นคงทางอาหาร ให้คำจำกัดความของความมั่นคงทางอาหารว่า “การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอสำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศ อาหารมีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตามความต้องการ ตามวัยเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้ง การมีระบบการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาความสมดุลของระบบนิเวศวิทยา และความคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติสาธารณภัยหรือการก่อการร้ายอันเกี่ยวเนื่องจากอาหาร” 

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งท่าช้าง มีพื้นที่เกษตรกรรมโดยการทำนา เต็มพื้นที่ พยายามส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ทำการเกษตรเพื่อเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข 

โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล

โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย

นายก อบต. และสมาชิกสภา อบต. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งนั้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
• องค์ประกอบของ อบต. ในการปฏิบัติงาน ดังนี้
(1) สภา อบต. : ฝ่ายนิติบัญญัติ
(2) นายก อบต . : ฝ่ายบริหาร
(3) พนักงานส่วนตำบล : ฝ่ายราชการประจำ
(4) ประชาชนในเขต อบต. : เป็นศูนย์กลางการพัฒนา และมีส่วนรวมดำเนินการ
(5) ฝ่ายกำกับดูแล อบต. : นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด
ทั้ง 5 ฝ่ายต้อง มีส่วนรวมในการดำเนินงานตามกรอบอำนาจหน้าที่อย่างสมดุล อบต. จึงพัฒนาอย่างยั่งยืนและเข้มแข็ง